Home | เทคนิคการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 | ใช้กิจกรรมการเขียนอิสระฝึกทักษะการนำตนเองให้เด็กได้อย่างไร?

ใช้กิจกรรมการเขียนอิสระฝึกทักษะการนำตนเองให้เด็กได้อย่างไร?

การทำงานเป็นระบบ  จำเป็นต้องใช้สมองในการคิด วางแผนและลงมือปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ จึงควรพัฒนาสมองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเยาวชนในวัยเรียนควรได้รับการฝึกทักษะอย่างต่อเนื่องและหลากหลายให้คิดเป็น สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ และนำตนเองได้เพื่อก้าวเผชิญกับโลกในชีวิตจริง

การเรียนรู้การนำตนเอง (self-directed learning) เป็นทักษะที่สามารถฝึกได้จากความสนใจที่ได้รับการกระตุ้นหรือสนับสนุนให้เกิดความอยากรู้ อยากเห็น อยากเรียน โดยลงมือคิด-วางแผน-ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อสู่ความสำเร็จ จนสามารถนำตนเองไปได้ตลอดชีวิต กับทั้งสามารถเผื่อแผ่และช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างมีความสุขอีกด้วย

กิจกรรมการเขียนอิสระ  เป็นหนึ่งในหลายกิจกรรมที่ใช้ฝึกเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้การนำตนเอง เป็นกิจกรรมการเขียนสร้างสรรค์ที่สามารถจัดมาบูรณาการได้ในหลากหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ แทรกในกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มบรรยากาศที่ท้าทาย ตามระดับชั้นของผู้เรียน ตัวอย่างกิจกรรมการเขียนอิสระสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่1-3

ที่มาของภาพ สมุดเขียนอิสระ

การจัดกิจกรรมการเขียนอิสระ  ดร.อัจฉรา ฉายวิวัฒน์ได้เสนอแนวปฏิบัติ คือ

1.การเขียนอิสระ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการคิดจินตนาการ อยากสร้างสรรค์ด้วยตนเอง และอยากเขียนออกมา

2.การเขียนอิสระ ให้ผู้เรียนเขียนในสิ่งที่ตนเองคิดอยู่ในสมอง ฝึกให้คิดเอง แล้วเปลี่ยนความคิดออกมาเป็นภาษาเขียน

3.การเขียนอิสระ ปล่อยให้ผู้เรียนผ่อนคลาย มีอิสระในขณะที่เขียน จึงไม่ควรมีรูปแบบในการเขียน

4.การเขียนอิสระ อาจให้ผู้เรียนเริ่มจากการเขียนสั้นๆ วาดภาพประกอบให้ผู้อ่านเข้าใจความคิดของผู้เขียน/ผู้เรียน อาจให้กำลังใจ แล้วค่อยๆเขียนให้มากขึ้น

5.การเขียนอิสระ ควรได้รับการตรวจที่มิต้องแก้ไข แต่อาจสอนเพิ่ม หรือให้คำแนะนำภายหลัง

6.การเขียนอิสระ ผู้จัดกิจกรรม/ครู เป็นผู้ที่ท้าทายความคิดของผู้เขียน/ผู้เรียนเท่านั้น

 

บทความโดย  เบญญาภา โสภณ (อบ.จุฬาฯ , คม. จุฬาฯ)

หนังสือแนะนำ สมุดเขียนอิสระ ผู้เขียน ดร.อัจฉรา ฉายวิวัฒน์

 

 

About Benyapha Sophon

Check Also

ตัวอย่างกิจกรรมฝึกทักษะการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง .. จัดให้สนุกแบบนี้

เพียเจต์กล่าวว่า (Piaget,1972:1-12) “มนุษย์จะมีการพัฒนาเชาวน์ปัญญาไปตามลำดับขั้น จากการมีปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางสังคม วุฒิภาวะ และกระบวนการพัฒนาความสมดุลของบุคคลนั้น” ในการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองนั้น การจัดกระบวนการเรียนรู้จึงควรได้รับการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ สิ่งของ หรือ ข้อมูลต่างๆที่เป็นของจริง …