เทคนิคการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก .. คณิตศาสตร์

เริ่มตั้งแต่การวางแผนองค์ประกอบ 10 อย่าง หนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาคณิตศาสตร์ (หนังสือเล่มเล็ก)

เทคนิคการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก .. คณิตศาสตร์ เริ่มตั้งแต่การวางแผนองค์ประกอบ 10 อย่าง

หนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาคณิตศาสตร์ (หนังสือเล่มเล็ก) คือ หนังสือที่นักเรียนและกลุ่มจัดทำขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง ในการดำเนินเรื่องอาจใช้วิธีการเล่าเรื่องเพื่อแสดงความคิดเห็นถึงเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ จากความเป็นจริง หรือคิดสร้างสรรค์เรื่องขึ้นมา อาจจะวาดภาพประกอบหรือใช้ภาพจริงของเหตุการณ์ สถานการณ์ ประกอบการเล่าเรื่อง ในที่นี้นักเรียนอาจจะนำเสนอหรือเขียนเป็นนิทานจดหมายเล่าเรื่อง บันทึกเหตุการณ์เดินทาง เรียงความ บทความ เรื่องสั้น โดยให้การดำเนินเรื่องมีความสัมพันธ์ระหว่าง “เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์” กับ “เนื้อหาของเรื่อง” การวางแผนจัดทำหนังสือเล่มเล็ก ประกอบด้วย (อาจจะมีไม่ครบทั้ง 10 หัวข้อ)

1. โครงเรื่อง (Plot) คือ การกำหนดแนวทางในการนำเสนอเรื่อง อาจนะนำเสนอเรื่องราวสนุกสนานน่าตื่นเต้น เหงา เศร้าสร้อย บ่งบอกถึงความรัก ความมีคุณธรรม โดยบอกจากเหตุการณ์รอบตัวหรือใกล้ตัวของนักเรียนที่ประทับใจ

2. แนวคิดหรือแก่นเรื่อง (Theme) คือ สาระสำคัญของเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งจะสะท้อนประเด็นของการนำเสนอให้กับผู้อ่านเห็นและเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อสาร

3. ตัวละคร (Characters) คือ ผู้ที่มีบทบาทปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มเล็ก

4. ฉาก (Setting) คือ สถานที่และสิ่งแวดล้อมรอบตัวละครที่ปรากฏอยู่ในเรื่อง เช่น บรรยากาศในรถโดยสารที่พาไปบึงฉวาก บรรยากาศที่บึงฉวาก บรรยากาศในแปลงพืชพื้นบ้าน สวนสัตว์ หรือ พิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืด นักเรียนจะสามารถนำเสนอได้ 4 ลักษณะ ดังนี้

 4.1 ภูมิประเทศ ได้แก่ สภาพท้องถิ่น ทิวทัศน์ บรรยากาศฯ

4.2 อาชีพ ได้แก่ อาชีพชาวไร่ ชาวนา ค้าขาย ข้าราชการ ฯลฯ

4.3 เวลา ได้แก่ ฤดูกาล ช่วงเวลาเช้า สาย บ่าย เย็น ฯ 4.4 สภาพแวดล้อมของตัวละคร การดำรงชีวิต ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ฯ

5. บทสนทนา (Dialogues) คือ คือคำพูดโต้ตอบของตัวละครในเรื่อง สอดคล้องกับลักษณะของตัวละครแต่ละตัว เช่น คำพูด กิริยา มารยาท หรือพฤติกรรม

6. ทรรศนะหรือมุมมองของผู้เขียน (Opening) คือ กลวิธีการเล่าเรื่องราวให้ผู้อ่านรับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยผ่านผู้เล่าเรื่องราว

7. การเปิดเรื่อง (Action) คือ การเริ่มต้นในฉากแรกของเรื่องที่เขียนเพื่อเร้าความสนใจของผู้อ่านให้ติดตามงานเขียนนั้น ๆ

8. การดำเนินเรื่อง (Ending) คือ การกำหนดให้ตัวละครแสดงบทบาทเรื่องราวไปตามที่ผู้เขียนกำหนดไว้ในโครงเรื่องทีละบท เพื่อบ่งบอกถึงเรื่องราวแก่ผู้อ่าน

9. การปิดเรื่อง (Stye) คือ การจบเรื่องซึ่งจะคลี่คลายปมสงสัย ปมปัญหาทั้งหมด (หรืออาจจะทิ้งค้างไว้ให้ผู้อ่านติดตามก็ได้) ถือเป็นจุดสุดยอดของเรื่อง (Climax) เช่น – ทิ้งความรู้สึกของความร่วมมืออนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายาก – ทิ้งความรู้สึกของความร่วมมืออนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นเมือง – ทิ้งความรู้สึกของความร่วมมืออนุรักษ์พันธุ์ปลาน้ำจืด – ทิ้งคามรู้สึกของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

10. ท่วงทำนองการเขียน คือ ลีลาการใช้ถ้อยคำ สำนวน เป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดเจตนาของผู้เขียน ซึ่งระบายความลึกซึ้ง ความชัดเจนชีวิต สะท้อนออกมาเป็นตัวหนังสือ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น นุ่มนวล อ่อนหวาน แข็งกร้าว โศกเศร้า หรือร่าเริง เป็นต้น

 

เนื้อหานำมาจาก หนังสือ “กิจกรรมการเรียนรู้สู่โครงงานคณิตศาสตร์” ดูเนื้อหาที่ http://www.benpublishing.net/2017/04/04/math-ads-all/

ผู้เขียน มานัส ทิพย์สัมฤทธิ์กุล โรงเรียนสงวนหญิง สุพรรณบุรี

ลิขสิทธิ์ บริษัทเบ็นพับลิชชิงจำกัด หนังสือพร้อมซีดี ราคาชุดละ295.00 สั่งซื้อ In Box เพจ> https://www.facebook.com/benpublish/

About Benyapha Sophon

Check Also

เกมและกิจกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัย

พัฒนาร่างกาย สมอง และคุณธรรมจริยธรรมด้วยเกมและการเล่น